วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

นิยามของการส่งข้อมูลเเละลักษณะการทำงาน3

การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับ

ปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุม

การส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฎเกณฑ์ในการส่งหรือ

รับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ


2. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ

จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้

ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ

3. โปรโตคอล (Protocol)
โปรโตคอล คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิด

ให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC เป็นต้น

4. ซอฟต์แวร์ (Software)
การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่

กำหนดไว้ ได้แก่ Novell's NetWare UNIX Windows NT ฯลฯ

5. ข่าวสาร (Message)
เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้

5.1 ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
5.2 ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้คอนข้างยาก

และมีความสามารถในการส่งปานกลาง
5.3 รูปภาพ (Image) เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพ

วิดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บและใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก
5.4 เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัด

ขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ
6. ตัวกลาง (Medium)
เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับหรืออุปกรณ์รับ

ปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทาง

อากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น

http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson6-1.asp

นิยามของการส่งข้อมูลเเละลักษณะการทำงาน2

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications)
หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน วิธีการส่งข้อมูลนี้ จะแปลง

ข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้นกลับมา

ให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จาก

ภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหายหรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็

อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิด

การรบกวนน้อยที่สุด


ส่วนประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่
1. ตัวส่งข้อมูล
2. ช่องทางการส่งสัญญาณ
3. ตัวรับข้อมูล
4. การสื่อสารข้อมูลในระดับเครือข่าย

http://multimedia.udru.ac.th/homece/duke/3.html

นิยามของการส่งข้อมูลเเละลักษณะการทำงาน1

นิยามของการส่งข้อมูลเเละลักษณะการทำงาน
การส่ง-รับข้อมูลเพื่อโอนถ่ายหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ จะสำเร็จขึ้นได้ต้อง ประกอบด้วยปัจจัย สำคัญ 2 ประการคือ
- คุณภาพของสัญญาณข้อมูลที่ส่ง-รับกัน
- คุณลักษณะของสายสื่อสารสำหรับส่งผ่านข้อมูล
อย่างไรก็ตามก่อนที่เราจะศึกษาถึงเทคนิคการส่ง-รับข้อมูลทั้งที่เป็นสัญญาณ อนาล็อก และดิจิตอล เราจะมาทำ ความรู้จักกับ ความรู้พื้นฐานรวมทั้งศัพท์ และรูปแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่ง-รับ ข้อมูลกันเสียก่อน
ความหมายของการส่งสัญญาณ (Transmission Definitions)
การส่งสัญญาณ หมายถึง การที่สายสัญญาณในการสื่อสารจะเป็นตัวกลางที่ จะนำเอาข้อมูลหรือ ข่าวสารจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งในระบบการสื่อสาร ข้อมูล สายส่ง สัญญาณจะอยู่ในรูปของ เครือข่ายโทรศัพท์ หรือว่า สายโทร - ศัพท์นั่นเองเมื่อเกิดการส่งข้อมูลไปตามสายนี้ บางครั้งก็เลยเรียกว่า สายข้อมูล (Data Line) แต่ในบางครั้งก็อาจจะเรียกว่า สายเชื่อมโยงในการส่งข้อมูล (Data Link)

1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-Way หรือ Simplex)
ในการส่งสัญญาณข้อมูล แบบซิมเพล็กซ์ข้อมูลจะถูกส่งไปในทิศทางเดียว เท่านั้นหมายถึงว่าผู้ส่ง สามารถส่งข้อมูลหรือข่าวสารไปให้แก่ผู้รับได้เพียง ฝ่ายเดียว ส่วนผู้รับไม่สามารถจะโต้ตอบกลับไปได้ ตัวอย่างเช่น การกระจาย เสียงของสถานีวิทยุ หรือการแพร่ภาพทางโทรทัศน์

2. แบบกึ่งทางคู่หรือครึ่งเพล็กซ์ (Either-Way of Two Ways หรือ Half Duplex)
การสื่อสารแบบครึ่งดูเพล็กซ์ เราสามารถส่งข้อมูลสวนทางกันได้แต่ต้องสลับ กันส่งจะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ ตัวอย่างเช่นวิทยุสื่อสาร ของตำรวจแบบ วอล์กกี้- ทอล์กกี้ ซึ่งต้อง อาศัยการสลับสวิตช์ เพื่อแสดงการเป็นผู้ส่งสัญญาณ และให้ทาง อีกด้านหนึ่งเป็นผู้รับสัญญาณคือต้องผลัดกันพูด บางครั้งเราเรียก การสื่อแบบ ครึ่งดูเพล็กช์ว่า แบบสายคู่ (Two-Wire Line)

3. แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Both-way หรือ Full-Duplex)
ในแบบนี้เราสามารถส่ง ข้อมูลได้พร้อม ๆ กันทั้งสอง ทาง ตัวอย่างเช่น ในการพูด โทรศัพท์ ท่าน สามารถพูด พร้อมกันกับคู่สนทนาได้ (เช่น ในกรณี แย่งกันพูดหรือ ทะเลาะ กัน) การทำงานจะเป็นดู เพล็กซ์เต็ม แต่ในการใช้งาน จริง ๆ แล้วจะเป็น แบบครึ่งดูเพล็กซ์คือผลัดกันพูด ดังนั้น โทรศัพท์จึงเป็น อุปกรณ์แบบดูเพล็กซ์เต็ม ที่มีการใช้งานแบบครึ่งดูเพล็กซ์บางครั้งเราเรียก การสื่อสารแบบดูเพล็กซ์ เต็มว่า Four-Wire Lineประโยชน์การใช้งานของการ ส่งสัญญาณ แบบดูเพล็กซ์เต็มย่อมให้ประโยชน์ใช้สอยได้ดีกว่ารวมทั้งลด เวลาในการส่งสัญญาณ เพื่อสลับการเป็นผู้ส่งในแบบครึ่งดูเพล็กซ์อย่างไร ก็ตามค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและอุปกรณ์ของระบบการส่ง สัญญาณแบบ ดูเพล็กซ์เต็มย่อมแพงกว่าและยุ่งยากกว่าเช่นกัน

4. แบบสะท้อนสัญญาณหรือเอ็กโคเพล็กซ์ (Echo-Plex)
บางคนใช้คำว่าครึ่งดูเพล็กซ์ หรือดูเพล็กซ์เต็มมาอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างคีย์บอร์ด และจอภาพ ของเทอร์มินัลของเมนเฟรมหรือโฮสต์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งที่จริงแล้วควรใช้คำว่า เอ็กโคเพล็กซ์มากกว่าในระหว่าง การคีย์ข้อความ หรือคำสั่งที่คีย์บอร์ดเพื่อให้โฮสต์คอมพิวเตอร์ รับข้อความ หรือ ทำตามคำสั่ง ข้อความหรือ คำสั่งก็จะปรากฏขึ้นที่ จอภาพของเทอร์มินัล ด้วยเช่นกัน เนื่องจากขณะที่สัญญาณตัวอักขระที่ถูกส่งจากคีย์บอร์ดไปยัง โฮลต์ ซึ่งเป็น แบบดูเพล็กซ์เต็มจะถูกสะท้อนสัญญาณให้กลับมาปรากฏ ที่จอภาพของเทอร์มินัลเองด้วย ทำให้ผู้ใช้สามารถรู้สึกไป พร้อม ๆ กันกับ ที่โฮลต์ทำงาน

http://www.spu.ac.th/msit1/pubmsit2/datacomm/unit2_3.html